วันพฤหัสบดีที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2552

ลูกแรดเตรียมพร้อมล่าเหยื่อ

สิ่งที่ได้จากการเรียนวิชาเตรียมฝึกประสบการณ์วิชาชีพ

1 การตรงต่อเวลา
จากที่ข้าพเจ้าได้เรียนวิชาเตรียมฝึกประสบการณ์วิชาชีพ
นั้นทำให้ข้าพเจ้าได้มีความกระตือรือร้นในการที่จะมาเรียน
ให้ทันเวลาก่อนที่จะเข้าเรียนและในการที่เราจะต้องไปทำงาน
อย่างตรงต่อเวลาจะทำให้เกิดสิ่งที่ดีและสื่อถึงนิสัยของเราเอง
ได้ว่าเราก็เป็นคนที่มีความตรงต่อเวลาและเราก็ไม่ต้องให้ใคร
มารอเราหรือเราก็ไม่ต้องมารอใครเพราะทุกคนนั้นก็ต้องนำสิ่งที่ได้
เรียนมาใช้ให้เกิดประโยชน์และทุกคนก็ต้องมีความตรงต่อเวลาด้วยกันทุกคน

2 เครื่องแบบการแต่งกายที่เรียบร้อย
การแต่งกายให้เรียบร้อยนั้นก็ยังสื่อถึงบุคลิกภาพที่ดี
ทำให้เรามีความมั่นใจในตัวเองและบุคคลรอบข้าง
ก็ยังมองเราดูว่าเป็นคนสะอาดเรียบร้อยดูหน้ารักและยัง
เชิดหน้าชูตาให้กับมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิตของเรา

3 ความสามัคคีในหมู่คณะ
ในการที่อาจารย์ได้มอบหมายงานให้ทุกคนทำงานร่วมกัน
เป็นทีมก็เป็นส่วนหนึ่งที่ฝึกให้เรารู้จักการขยันทำงาน
และเกิดความสามัคคีในหมู่คณะทำให้ทุกคนต้องมีความ
เพิ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน

4 การทำงานอย่างเป็นระบบ
การทำงานจากการที่เราได้รับงานชิ้นนั้นมาทำ
เราก็ได้รู้จักแบ่งงานและการติดต่อสื่อสารกันในการทำงาน
เราได้ทำงานกันอย่างเป็นขั้นตอนและระบบยังช่วยให้เรา
เป็นคนทำงานอย่างมีระเบียบรอบครอบแถมยังทำให้งาน
ของเราออกมาได้ดีอีกด้วย

ในการเรียนวิชาเตรียมฝึกประสบการณ์วิชาชีพ
ทำให้ข้าพเจ้าได้ทราบถึงประสบการณ์การทำงาน
และยังได้เรียนรู้ถึงคุณประโยชน์และยังได้มีข้อคิดคติดี ๆ
จากอาจารย์ผู้สอนหรือแม้กระทั่งจากวิทยากรที่ได้เข้ามา
นำความรู้มาสอนและยังทำให้เราได้มีการพัฒนาชีวิตของเรา
ให้ดีขึ้นได้อีกด้วยและสิ่งที่สำคัญที่สุด
ข้าพเจ้าจะนำสิ่งที่ได้เรียนรู้มาฝึกฝนพัฒนา
ประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์และนำไปใช้ใน
ชีวิตประจำวันและนำไปประกอบวิชาชีพในอนาคตต่อไป

DTS 12-23-09-2552

สรุป Graph (กราฟ)

เป็นโครงสร้างข้อมูลแบบไม่เชิงเส้น
กราฟเป็นโครงสร้างข้อมูลที่มีการนำไปใช้งาน
ที่เกี่ยวข้องกับปัญหาที่ค่อนข้างซับซ้อน

กราฟ เป็นโครงสร้างข้อมูลแบบไม่เชิงเส้น
ที่ประกอบไปด้วยสิ่งสองสิ่งคือ
1 โหนด (Node) หรือเวอร์เทกซ์
2 เส้นเชื่อมระหว่างโหนด เรียก เอ็จ
กราฟที่มีเอ็จเชื่อมระหว่างโหนดสองโหนด
ถ้าเอ็จไม่มีลำดับ ความสัมพันธ์จะเรียกกราฟ
นั้นว่ากราฟแบบไม่มีทิศทางและถ้ากราฟนั้นมีเอ็จ
ที่มีลำดับความสัมพันธ์หรือมีทิศทางกำกับด้วย
เรียกกราฟนั้นว่า กราฟแบบมีทิศทาง

การเขียนกราฟแสดงโหนดและเส้นเชื่อม
ความสัมพันธ์ ระหว่างโหนดไม่มีรูปแบบ
ที่ตายตัวการลากเส้นความสัมพันธ์เป็น
สัญลักษณ์ไหนก็ได้ที่สามารถแสดง
ความสัมพันธ์ระหว่างโหนดได้ถูกต้อง
นอกจากนี้เอ็จจากโหนดใด ๆ สามารถ
วนเข้าหาตัวมันเองได้

กราฟที่มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา
อาจจะใช้วิธีแอดจาเซนซีลิสต์
ซึ่งเป็นวิธีที่คล้ายวิธีจัดเก็บกราฟด้วยการ
เก็บโหนดและพอยน์เตอร์ แต่ต่างกันตรงที่
จะใช้ ลิงค์ลิสต์แทนเพื่อความสะดวก
ในการเปลี่ยนแปลงแก้ไข

การท่องไปในกราฟ คือ
กระบวนการเข้าไปเยือนโหนดในกราฟ
โดยมีหลักในการทำงาน คือ แต่ละโหนด
จะถูกเยือนเพียงครั้งเดียว
สำหรับเทคนิคการท่องไปในกราฟ
มี 2 แบบคือ
1 การท่องแบบกว้าง คือ
ทำโดยเลือกโหนดที่เป็นจุดเริ่มต้น
ต่อมาให้เยือนโหนดอื่นที่ใกล้กันกับโหนด
เริ่มต้นทีละระดับจนกระทั่งเยือนหมดทุก
โหนดในกราฟ
2 การท่องแบบลึก คือ
การทำงานคล้ายกับการท่องทีละระดับ
โดยกำหนดเริ่มต้นที่โหนดแรกและเยือน
โหนดถัดไปตามแนววิถีนั้นจนกระทั่งนำไปสู่
ปลายวิถีนั้น จากนั้นย้อนกลับตามแนว
วิถีเดิมนั้น จนกระทั่งสามารถดำเนิน
เข้าสู่แนววิถีอื่น ๆ เพื่อเยือนโหนดอื่น ๆ
ต่อไปจนครบทุกโหนด